บ้านมือสองของใครหลายคน อาจมาจากการประมูลทรัพย์สิน NPA ที่ขายทอดตลาด ขณะเดียวกันสำหรับบุคคลใดที่ต้องการซื้อบ้านแต่มีเงินทุนไม่มากพอ การยื่นกู้ซื้อบ้านจึงเป็นทางออก นานวันไปหากสภาพคล่องไม่ดี ความสามารถการผ่อนจ่ายไม่ไหว ขาดการชำระหนี้เกิน 3 เดือน สินเชื่อที่ปล่อยให้กับผู้กู้รายนั้น ก็จะกลายเป็น NPL ธนาคารจำต้องฟ้องร้องยึดหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขายทอดตลาดสร้างรายได้กลับคืนมา นั้นคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง NPA &NPL และ บ้านมือสอง ดังนั้นบ้านคุ้มค่า จึงขออธิบาย รายละเอียด NPA และ NPL ดังนี้
ทรัพย์สินด้อยคุณภาพ ( Non-Performing Asset : NPA )
- ความหมาย : ทรัพย์สินด้อยคุณภาพ หรือ ทรัพย์สินรอการขาย จะเป็นทรัพย์สินที่สถานบันการเงินใดๆ ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จากการโอนทรัพย์ชำระหนี้ การเข้าสู้ราคา และการซื้อคืนการประมูลขายทรัพย์กรมบังคับคดี แล้วนำออกขายทอดตลาดให้ผู้ที่สนใจเพื่อให้เกิดรายได้กลับคืนมา
- ลักษณะ : ทรัพย์สิน ที่ทางสถาบันการเงินอาจซื้อมาในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง , ทรัพย์สินจากการปรับโครงสร้างหนี้ ที่ลูกหนี้มีปัญหาได้ตีโอนชำระหนี้แก่สถาบันการเงิน , ทรัพย์สินหลุดจำนอง กรณีที่ลูกหนี้นำทรัพย์สินมาค้ำประกันการกู้ยืม แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด รวมทั้ง ทรัพย์สินขายทอดตลาด จากลูกหนี้ที่ถูกสถาบันการเงินฟ้องและบังคับคดี
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL)
- ความหมาย : ธปท. นิยามว่า เป็น เงินให้สินเชื่อ จัดชั้นต่ำกว่ามาตราฐาน สงสัย ,สงสัยจะสูญ และสูญตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์ รวมถึง ลูกหนี้ จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์กันสำรองครบร้อยละ100 และตัดออกจากบัญชีแล้ว แต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี
- ลักษณะ : ลูกหนี้เงินกู้ ของสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์, บริษัทเงินทุน เป็นต้น ที่ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนให้สถาบันการเงินดังกล่าวเป็นระยะเวลา เกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป โดยปกติ สถาบันการเงินจะมีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ เพื่อรอบรับความเสี่ยงและปรับสถานภาพทางการเงินของสถาบันการเงินนั้นๆ
เพราะเรารู้ว่า "บ้าน" เป็นสิ่งสำคัญ เลือกอสังหาฯ
เลือก..บ้านคุ้มค่า