- สีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู 7 กม. 4 สถานี
- สีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา 7 กม. 4 สถานี
- น้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 7 กม. 4 สถานี
- สีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ 10 กม. 4 สถานี
- สีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน 14 กม. 13 สถานี
- สีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กม. 17 สถานี
"ส่วนที่เหลือมีบางส่วนต้องชะลอโครงการ เช่น สายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย เพราะมีปัญหาประชาชนไม่เห็นด้วย ส่วนสายอื่น ๆ อยู่ระหว่าง การพิจารณาในรายละเอียด เพื่อจะได้นำไปเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนแม่บท รถไฟฟ้าระยะที่ 2 รวมถึงรถไฟสาย สีใหม่ ๆ เช่น สายสีน้ำตาลแคราย-มีนบุรี หรือสีทองอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครด้วย"
สำหรับแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ขณะนี้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังจะจ้าง ที่ปรึกษามาดำเนินการวงเงิน 30 ล้านบาท จะแล้วเสร็จปี 2560-2561 เป็นแผนงาน ส่งต่อให้รัฐบาลชุดต่อไป จะกำหนดแผนการพัฒนาไว้ 10-20 ปีนับจากปี 2562
"แนวคิดให้มีเส้นทางเป็นวงแหวนเพื่อเชื่อมส่วนต่อที่ยังขาดการเชื่อมต่อให้สะดวกยิ่งขึ้น และต่อขยายจากเส้นทางเดิมให้เป็นขาใยแมงมุม เน้นเชื่อมกรุงเทพฯกับเมืองบริวาร เช่น พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ที่เป็นแหล่งอยู่อาศัยและอุตสาหกรรมเชื่อมกับรถไฟชานเมืองและรถไฟวิ่ง ระหว่างเมือง เช่น รถไฟทางคู่ ให้คนที่อยู่ชานเมืองใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 1 ชั่วโมงเข้ามาทำงานในเมืองได้ เป็นการกระจายความเจริญ การอยู่อาศัย และแหล่งงานออกไปนอกเมืองมากขึ้น"
พร้อมทั้งให้คำนึงถึงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ อาคารจอดรถตลอดแนวเส้นทาง และเน้นใช้วัสดุที่ผลิตในประเทศก่อสร้างตามนโยบายของรัฐบาล เช่น ภายในสถานีไม่ต้องใช้วัสดุก่อสร้างหรูหรา เช่น สีน้ำเงินเดิมปูผนังด้วยแกรนิตให้เปลี่ยนใช้กระเบื้องแทน รวมถึงการกำหนดอาคารศูนย์ซ่อมบำรุง (ดีโป) ให้มีจุดเดียวใช้ร่วมกัน ได้ เพื่อประหยัดงบลงทุน ล่าสุดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลดขนาดดีโปสายสีม่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ ใช้ร่วมกับดีโปที่สถานีคลองบางไผ่ของสายสีม่วง (เตาปูน-บางใหญ่)
สำหรับความคืบหน้ารถไฟฟ้ากำลังก่อสร้าง ประกอบด้วย สีม่วงเตรียมเปิดใช้อย่างเป็นทางการเดือน ส.ค.นี้ สายสีน้ำเงินต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อท่าพระ) คืบหน้า 72.06% สายสีเขียว (แบริ่ง- สมุทรปราการ) คืบหน้า 77.25% และช่วงหมอชิต-คูคตคืบหน้า 3.20%
ส่วนสายใหม่สายสีส้ม (มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม) กำลังปรับลดค่าก่อสร้าง ส่วนช่วง ตลิ่งชัน-มีนบุรี อยู่ในระหว่างทำความเข้าใจกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ สายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ อยู่ระหว่างพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และเสนอคณะกรรมการจัดการระบบจราจรทางบก (คจร.) ให้พิจารณาเส้นทางเพิ่มขึ้น 5 กม. จากราษฎร์บูรณะวงแหวนรอบนอก และปรับลดขนาดดีโป
สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) เสนอคณะกรรมการ PPP อนุมัติเพราะโครงการอยู่ใน PPP Fast Track คาด ว่าจะพิจารณาเดือน ก.พ.นี้ และต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ดอนเมืองบางซื่อ-พญาไท) กำลังปรับรายละเอียดโครงการ เนื่องจากต้องใช้รางร่วมกับ รถไฟไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น จะแบ่งการก่อสร้างเป็นเฟส เริ่มจากช่วงพญาไทบางซื่อก่อน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ