การซื้อบ้านมือสองทุกครั้งไม่ควรลืมเรื่องสภาพบ้านที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา แม้จะซื้อบ้านมาในราคาถูก แต่ถ้าต้องเสียเงินปรับปรุงกันใหญ่โต สุดท้ายบ้านหลังนั้นจะกลายเป็นภาระเสียมากกว่า ดังนั้นควร ตรวจสอบ 12 จุดสำคัญ พื้นฐานโครงสร้างตัวบ้าน เพื่อช่วยลดต้นทุนการซ่อมแซมบ้าน หากไม่มีความเข้าใจเรื่องนี้ควรปรึกษามืออาชีพโดยตรง เชื่อว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนอย่างแน่นอน
1. คราบผนังผุกร่องในห้องน้ำ
ควรตรวจสอบผนังรอบห้องน้ำ ว่ามีการผุกร่องหรือล่อนที่เกิดจากความชื่น หรือรอยรั่วไหลของน้ำหรือไม่ อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ได้เป็นกระทบที่เกิดจากโครงสร้าง แต่ควรรู้ไว้ว่า สิ่งนี้จะเป็นปัญหาที่ต้องคอยซ่อมแซมปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ
2. ฝาเพดานแข็งแรงไม่ผิดรูป
ควรตรวจดูความแข็งแรงของฝาเพดานว่ายังเรียบร้อยดีหรือไม่ ไม่ได้เป็นแค่การวางฝาแบบดูลอยๆหรือดูผิดรูป การตรวจสอบเบื้องต้นก็ทำได้ไม่ยาก โดยอาศัยการส่องไฟฉายไปที่เพดานในทั่ว จะช่วยให้สังเกตเห็นข้อบกพร่องได้ง่ายขึ้น เช่น ฝาเพดานโกร่งตัว เป็นต้น
3. เฟอร์นิเจอร์บิวอินอับชื้น
อย่าคิดว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์บิวอินแล้วจะปลอดภัย ควรตรวจสอบด้วยการเปิดดูว่ามีกลิ่นอับชื่น มีเชื่อราหรือไม่ สิ่งนี้อาจสื่อไปถึงต้นตอที่ถูกซ่อนอยู่ เช่น การรั่วซึมของน้ำ ทำให้เกิดความชื้น เป็นต้น
4. รอยแตกร้าวขนาดใหญ่บนผนัง
ควรเดินตรวจสอบผนังบ้านทั้งภายในและภายนอกดูว่า พบรอยแตกรอยร้าวขนาดใหญ่บ้างหรือไม่ หากพบรอยที่มีความลึกมากกว่า 2 มม. อาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นที่น่ากังวลในอนาคตได้
5. คราบเชื้อราผนัง
ควรตรวจดูผนังห้องต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้องน้ำและห้องนอน ว่ามีคราบเชื่อราบ้างหรือไม่ แน่นอนว่าคุณจะไม่โดนหลอกง่ายๆ หากสังเกตสีผนังว่าดูผิดแปลกหรือไม่ มันอาจมาจากการทำความสะอาดเพื่อปกปิดครั้งใหญ่ก็ได้ ปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่การเอาเชื่อราออกไป แต่สำคัญที่สาเหตุการเกิดเชื้อราเหล่านั้นมากกว่า กำจัดไปแล้ว ก็ขึ้นใหม่ได้ หากไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ
6. ลักษณะการฉาบปูนผนัง
ควรตรวจดูว่าเกิดการแตกลายงาบนผนังปูนฉายหรือไม่ สิ่งนี้สะท้อนไปถึงวิธีการฉาบที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่ก่อสร้าง และมีความเป็นไปได้สูงมาก ว่าหากพบรอยเหล่านี้ครั้งแรกแล้ว มักจะพบรอยลักษณะนี้ผนังอื่นๆอีก
7. ตรวจสอบหลังคา
ควรตรวจดูแนวการวางแผ่นหลังคาคร่าวๆ ว่าพบรอยที่ดูผิดปกติ เช่น ดูลอยไม่แน่น ดูโกร่งตัว เป็นต้น หากหลังคามีปัญหา อาจเกิดปัญหาอื่นตามมาแบบไม่ทันตั้งตัวได้ เช่น รอยรั่ว ร่องน้ำขัง ถ้ามีน้ำไหลไปที่ฝาเพดานโป่งพองได้ เป็นต้น
8. ตรวจสอบท่อระบายน้ำหลังคา
ไม่ใช่เพียงแค่ท่อระบายน้ำที่ระดับพื้นดินที่สำคัญ แต่สำคัญตั้งแต่ท่อที่ต่อกับหลังคา หากพบการสึกกร่อนก็ต้องเป็นเหตุให้เสียเงินเปลี่ยนรางน้ำอันใหม่ หรือหากมีระเบียง ควรตรวจดูความลาดเอียงของพื้นว่ามีน้ำท่วมขังหรือไม่ เป็นต้น
9. ตรวจสอบท่อระบายน้ำ
ควรตรวจสอบดูว่า ระบบการวางท่อระบายน้ำในพื้นที่บ้านเป็นอย่างไร เช่น ท่อระบายน้ำจากหลังคาไหลไปสู่งท่อระบายน้ำใหญ่เลยหรือไม่ หรือถูกเก็บขังที่ไหนหรือเปล่า ก่อให้เกิดท่วมขังหรือไม่ หรือท่อระบายมีอะไรอุดตันหรือไม่ เป็นต้น
10. ระดับตัวบ้าน
หากเป็นบ้านที่ติดถนนซอยที่ยังไม่ใช่ถนนใหญ่สายหลัก หากมีการทำถนนใหม่ มักจะถมถนนให้สูงขึ้น ดังนั้นควรคาดการณ์เผื่อความสูงของถนนในอนาคตให้ดีว่า อยู่ในระดับที่พอเหมาะกับระดับบ้านหรือไม่ หากแตกต่างกันในลักษณะที่ระดับบ้านต่ำกว่า คงไม่ใช่เรื่องที่ดีในอนาคต
11. คุณภาพพื้นบ้าน
ปัจจุบันมีการปูพื้นบ้านได้หลากหลายสไตล์ตามความชอบ เช่น ปูพื้นกระเบี้อง ต้องดูว่ามีรอยแตกหัก หรือเคาะฟังเสียงว่าดูโปร่งเป็นโพรงหรือไม่ , พื้นลามิเนต ต้องดูว่าล่อนหรือบวมหรือไม่ , พื้นปาร์เก้ ต้องไม่บวมหรือไม่มีมอดไม้ตัวปลวก เป็นต้น
12. อุปกรณ์และระบบไฟฟ้า
เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ทดสอบง่ายๆ เช่น การใช้ไขควงวัดไฟสัมผัสที่ปลั๊กไฟว่ามีกระแสไฟจริงหรือไม่ , ลองปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือหลอดไฟทุกดวง แล้วตรวจดูว่ามิเตอร์ไฟฟ้ายังวิ่งอยู่หรือไม่ รวมทั้งความปลอดภัยอย่างสายดิน กรณีมีเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น
เพราะเรารู้ว่า "บ้าน" เป็นสิ่งสำคัญ เลือกอสังหาฯ
เลือก..บ้านคุ้มค่า