- ติดฉนวนกันความร้อนบนฝาเพดาน ก่อนเริ่มติดตั้งควรตรวจสอบบริเวณที่จะติดตั้ง เช่น ชนิด การรับน้ำหนักของฝ้าเพดาน เพื่อจะได้สามารถเลือกฉนวนกันความร้อนได้อย่างเหมาะสมกับสถานที่และการใช้ งาน ซึ่งแบบของฉนวนนั้นควรที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว
- ปรับปรุงโถงบันไดที่ค่อนข้างมืด และไม่ระบายอากาศ ด้วยแสงสว่างและลมจากธรรมชาติ โดยเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคา หรือแผ่นฝ้าให้เป็นวัสดุโปร่งแสงในจุดที่ต้องการความสว่าง โดยกำหนดให้มีขนาดพอเหมาะ ส่วนการระบายอากาศนั้นก็ให้พยายามเปิดหน้าต่าง ให้สามารถระบายได้อย่างต่อเองผ่านโถงบันไดเท่าที่ทำได้
- อย่าต่อเติมบ้านจนไม่มีทางให้ลมเข้าออก โดยเฉพาะพื้นที่ชั้นล่างที่ต้องพยายามออกแบบให้ทุกส่วนของมีทางให้ลมเข้าและ ออกได้อย่างต่อเนื่อง จึงจะช่วยลดการสะสมความร้อนภายในบ้าน และได้รับแสงธรมชาติ อันเป็นหนทางประหยัดพลังงานอีกทางหนึ่ง
- ในห้องที่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ควรเลือกใช้หน้าต่างแบบบ้านเลื่อนและประตูแบบบานทึบแทน เพราะจะช่วยปิดกันความร้อนและความชื้นจากภายนอกได้ดีกว่า หน้าต่างหรือประตูที่มีลักษณะเป็นบานแกล็ด ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนักมากเกินไป
- เลือกตำแหน่งการวางคอมเพรสเซอร์แอร์เอาไว้ในที่ที่โดนแดดน้อยที่สุด เช่น บริเวณผนังด้านทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก หรือตั้งไว้ในพื้นที่ร่มและโล่ง เพื่อจะได้ดูแลรักษาได้ง่าย รวมทั้งไม่วางของแกะกะบริเวณช่องลมกลับเวลาเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้เครื่องปรับอากาศสามารภทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานนั่นเอง
- เวลาเปิดเครื่องปรับอากาศแต่ละครั้ง อย่าลืมตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส และหากต้องการความเย็นไปตลอดทั้งคืนที่นอน แถมยังประหยัดไฟล่ะก็ ให้เปิดพัดลมทิ้งไว้ด้วย และตั้งปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติไว้สักประมาณตีหนึ่ง หรือตีสอง โดยพัดลมที่เปิดทิ้งไว้จะช่วยให้ความเย็นยังคงหมุนเวียนอยู่ในห้อง ทำให้คุณเย็นสบายได้ถึงเช้าเชียวล่ะ
ข้อมูลโดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
เพราะเรารู้ว่า "บ้าน" เป็นสิ่งสำคัญ เลือกอสังหาฯ
เลือก..บ้านคุ้มค่า