หลายคนโยนหน้าที่ของระบบไฟฟ้าในบ้านในมืออาชีพอย่างช่างไฟ หรือผู้รับเหมา ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องผิดเพราะระบบที่มาจากผู้เชี่ยวชาญและชำนาญย่อมดีกว่าเราที่มีความรู้งูๆปลาๆไปลงมือจัดการเอง แต่ช้าก่อน! ท่านเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยทุกท่าน จากที่กล่าวมาข้างต้นใช่ว่าทุกท่านจะไม่ต้องศึกษาหรือรู้อะไรเลยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในบ้านของท่าน เพราะต้องไม่ลืมว่าช่างไฟไม่ได้มาอาศัยอยู่ในบ้านกับท่านด้วยตลอด 24 ชม. ดังนั้นมันย่อมจะดีกว่าถ้ารู้จักกับระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆเอาไว้
เรื่องของกระแสไฟฟ้า แน่นอนฟังแล้วดูน่ากลัวสำหรับคนไม่รู้ เพราะหากเกิดทำผิดพลาดเพียงครั้งเดียวนั่นอาจทำอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งการติดตั้งและการเลือกใช้จึงต้องใส่ใจและระมัดระวังทำให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยอย่างที่สุด กระแสไฟฟ้าที่เราใช้ภายในบ้านนั้นเป็นกระแสไฟที่ถูกส่งมาจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าผ่านสายส่ง สายไฟ มิเตอร์วัดการใช้พลังงานไฟฟ้า เข้าสู่ตู้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้วส่งต่อไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งการติดตั้งหรือเดินสายไฟภายในบ้านก็จะประกอบด้วย ตู้เมน สายส่งไฟฟ้า สายไฟฟ้า สายดิน และมิเตอร์ไฟฟ้า
ทำความรู้จักอุปกรณ์สำคัญเกี่ยวกับไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้า หรือเซอร์กิต คือ ชุดอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าธรรมดาเส้นหนึ่ง ซึ่งมีอุปกรณ์ป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟไปยังตัวรับกระแสเทคนิคการติดตั้งแผงวงจรไฟฟ้า
- กำหนดจำนวนปลั๊กกระแสไฟฟ้าตามจุดต่างๆ ทั้งห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ฯ ว่าแต่ละห้องต้องมีปลั๊กกี่จุด ติดตั้งตัวตัดกระแสไฟฟ้า เบรกเกอร์และตัวตัดไฟฟ้าดูด เบรกเกอร์ในแต่ละปลั๊ก
- กำหนดจำนวนของสวิตซ์ (อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิด) ว่ามีกี่จุด จากนั้นติดตั้งตัวเบรกเกอร์ไว้ในแต่ละปลั๊ก
- กำหนดขนาดของแผงวงจรให้เผื่อการเพิ่มขยายในอนาคตอย่างน้อย 25%
แผงควบคุมหลัก (ตู้ไฟฟ้า) คือ ตู้ไฟฟ้าสำหรับครัวเรือน ภายในประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าชนิดต่างๆ เช่น เบรคเกอร์ ช่วยตัดไฟเวลาเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
ตัวนำไฟฟ้า คือ สายไฟ หรือสิ่งที่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า
กล่องสวิตซ์ ใช้เพื่อกำหนดจัดวางต้นกำเนิดกระแสไฟฟ้าจากสายหลักและเพื่อติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการเดินสายไฟฟ้า เช่น ปลั๊ก สวิตซ์
ปลั๊ก คือ อุปกรณ์ที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ โดยการเสียบเข้ากับเต้ารับที่กล่องสวิตซ์
สวิตซ์ คือ อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดของแหล่งกำเนิดแสง หรือควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ที่ต้องเปิดกระแสไฟฟ้า เช่น ปั๊มน้ำ
หลอดไฟและดวงโคมต่างๆ คือ แหล่งกำเนิดแสงสว่างโดยรับพลังงานกระแสไฟฟ้ามาจากจุดปล่อยกระแสไฟภายในบ้าน
ตัวนำไฟฟ้า หรือ สายไฟที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
สายดิน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการเดินสายไฟฟ้า เพราะสายดินจะปล่อยกระแสไฟฟ้าลงสู่ใต้ดิน เมื่อเกิดไฟรั่ว ไฟช็อต โดยไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมนุษย์ ฉะนั้นการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องไม่ลืมติดตั้งสายดินด้วย
- ปลั๊กแบบสามขา ห้ามหักหรือเอาขาที่สามของปลั๊กออก เพราะนั้นคือสายดิน ซึ่งเต้ารับก็ต้องเป็นเต้ารับที่มีสามช่องด้วย
- เชื่อมต่อสายไฟทั้งหมดกับโครงสร้างโลหะแล้วทิ่มลงในดินในปริมาณความลึก กว่า 10 ฟุต (ต้องไม่มีอะไรกีดขวางแท่งโลหะที่ใต้ดิน เพื่อให้กระแสไฟ ไหลลงสู่พื้นดินได้สะดวก)
- มีสวิตซ์หรือเบรคเกอร์ ที่ตัดกระแสไฟฟ้าทันทีที่มีกระแสไฟรั่วหรือลัดวงจร
- ในพื้นที่ปิดและเปียกชื้น เช่น ห้องน้ำ ระบบท่อทั้งหมดควรเชื่อมต่อกับหลักดินหรือสายดินเพื่อความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำร้อน น้ำเย็น ท่อระบายน้ำ ท่อส่งความร้อน ท่อส่งแก๊ซฯ
สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงและความผิดปกติของการใช้ไฟฟ้า
การใช้ไฟฟ้ามากเกินไป เป็นความผิดปกติที่เกิดจากมีกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเกิดกว่าปกติ เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้ามากเกิดไป โหลดหรือเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าเดียวกัน ทำให้รางร้อยสายมีความร้อนสูงกว่าปกติ
ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดจากการที่สายเฟสและสายนิวทรัลของตัวนำไฟฟ้า (สายไฟ) มาสัมผัสกันโดยไม่มีฉนวนป้องกัน ซึ่งเกิดจากความทรุดโทรม ระหว่างเกิดการลัดวงจร ปริมาณกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นมากทำให้ตัวนำไฟฟ้าหรือคอนดักเตอร์ละลายในจุด ที่มีการสัมผัสกัน เกิดความร้อนสูงและประกายไฟ เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
อุปกรณ์ป้องกัน : ติดตั้งเทอร์โม-แมกเนติกเซอร์กิตเบรกเกอร์แบบอัติโนมัติ ช่วยตัดกระแสไฟฟ้า
การชำรุดของฉนวน อาจเกิดจากการใช้งาน รอยฉีกขาดที่เกิดขึ้นในตัวนำไฟฟ้าหรือสายไฟสายหนึ่งหรือมากกว่าอยู่ภายใน หรือการประกบหุ้มฉนวนไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดไฟฟ้ารั่ว ส่งผลให้ไฟฟ้าดูดผู้ใช้อุปกรณ์ได้
อุปกรณ์ป้องกัน : ติดตั้งสวิตซ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว เพื่อช่วยตัดกระแสไฟฟ้าที่จะไหลผ่านร่างกายมนุษย์
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก HomePro (Home Guru)
เรื่อง รู้เรื่องสายไฟ ปลอดภัยอย่างมืออาชีพ
เพราะเรารู้ว่า "บ้าน" เป็นสิ่งสำคัญ เลือกอสังหาฯ
เลือก..บ้านคุ้มค่า