กรณีที่ 1. ท่อประปาเก่าเป็นสนิม
ท่อเหล็กอาบสังกะสีที่ใช้งานนานเกินกว่า 5 ปี อาจเป็นสนิม ทำให้น้ำประปามีการปนเปื้อนของคราบแดงซึ่งเป็นคราบสนิมนั่นเอง และเนื่องจากมีตะกอนของสนิมปะปนอยู่ในน้ำที่เราใช้ดื่มกินและใช้ในชีวิต ประจำวันกัน ดังนั้น หากพบว่า ท่อเหล็กเก่าเป็นสนิมควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที ในทางกลับกันเราควรใช้ท่อประปาน้ำดื่ม PVC ในการเดินระบบน้ำประปาสะอาดกัน
กรณีที่ 2. ท่อน้ำและอุปกรณ์ประปาแตกรั่ว
หากพบว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้นในระบบประปาทั้งที่เกิดขึ้นในจุดต่างเล็กๆ น้อยๆ ทั้งจากตัวถังชักโครก หรือถังที่เก็บน้ำที่ลูกลอยชำรุด และทำให้เกิดปัญหาน้ำไหลทิ้งอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลให้มาตรวัดน้ำมีการหมุนอยู่ตลอดเวลา รวมถึงปัญหา การรั่วไหลมากอันเกิดจากท่อประปาไม่ได้คุณภาพ แตกรั่วใต้ดินซึงมองไม่เห็น ควรรีบซ่อมแซมอุปกรณ์ประปา ให้อยู่ในสภาพที่ดีเหมาะสมกันการใช้งาน อยู่เสมอ เพราะนอกจากท่อประปาและอุปกรณ์ PVC ที่รั่วจะทำให้สูญเสียน้ำไปเป็นจำนวนมหาสารแล้ว อาจเป็นสาเหตุให้สิ่งเจือปนที่สกปรกเข้าไปในระบบน้ำประปาได้ ทางที่ดีเราควรเดินระบบประปาที่ได้คุณภาพ ได้รับมาตราฐานที่รองรับละใช้งานให้เหมาะสม
กรณีที่ 3. ปั้มสูบน้ำทำงานผิดปกติ
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่สูบโดยตรงจากท่อน้ำ อาจจะดูดสิ่งปฏิกูลสกปรกจากบริเวณที่ใกล้เคียง เช่น น้ำขุ่นจากท่อแตกรั่ว หรือ น้ำแดงจากท่อสนิมเข้ามาในระบบท่อประปาภายในอาคารได้ ดังนั้นทางที่ดีเราควรติดตั้งถังพักน้ำภายนอกอาคาร เพื่อสำรองน้ำที่มีการปนเปื้อนไว้ก่อน แล้วจึงสูบจากถังพักน้ำนั้นจ่ายไปยังท่อประปาภายในอาคาร จะช่วยให้คุณได้ใช้น้ำที่สะอาดปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
วิธีหาท่อประปารั่วง่ายๆด้วยตัวเอง
- ปิดก๊อกน้ำทุกตัวภายในอาคาร
- ตรวจสอบตัวเลขในมาตรวัดน้ำ โดยฟังเสียง และสังเกตดูการเคลื่อนไหวของตัวเลข หรือดอกจันสีแดงที่หน้าปัดมาตรวัดน้ำ
- หากพบว่า ดอกจันหรือตัวเลขในมาตรวัดน้ำมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แสดงว่า มีท่อแตก-รั่ว หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่าง ก๊อกน้ำ ซีลยาง ลูกลอยในชักโครก หรือบ่อพักน้ำชำรุด ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำรั่วไหลอยู่ตลอดเวลา ควรรีบทำการตรวจหาสาเหตุ และให้ช่างผู้เชี่ยวชาญซ่อมแซมแก้ไขให้เร็วที่สุด
- สำหรับบ้านที่ใช้เครื่องปั๊มน้ำ หากพบว่า เครื่องปั๊มน้ำทำงาน เป็นระยะเมื่อไม่มีการใช้น้ำ ให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า อาจเกิดจากปัญหาการรั่วไหลของน้ำ แล้วรีบตามช่างมาแก้ไขโดยด่วน เพราะนอกจากคุณจะสูญเสียน้ำประปาแล้ว ยังจะเสียค่าไฟฟ้ามากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
- นอกจากการตรวจสอบท่อประปาภายในบ้านแล้ว คุณยังสามารถตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำในท่อน้ำที่อยู่ภายนอกตัวอาคาร ด้วยการสังเกตที่พื้นดินบริเวณที่เดินท่อประปา ถ้าพื้นดินบริเวณนั้นทรุดตัวลงต่ำกว่าบริเวณอื่น หรือ มีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา อาจจะเกิดจากการแตกรั่ว หรือ ชำรุดของอุปกรณ์บางอย่างนั่นเอง
ข้อมูลจาก : TK Pipefitting