แม้ในปี 2557 ธุรกิจตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยจะอ่อนแอลง เป็นผลมาจากสถานการณ์เชิงลบจากภายในประเทศ แต่ประเทศไทยยังคงดึงดูดความสนใจของนักลงทุนได้เป็นอย่างมาก โดยมีข้อได้เปรียบจากโครงสร้างพื้นฐาน แผนที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลประโยชน์ด้านภาษีพิเศษและแรงงานที่มีทักษะ ยิ่งไปกว่านั้นการเปิดตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คาดว่าจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่อประเทศไทยในเชิงบวก
บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย คาดการณ์ว่าการเติบโตในด้านความต้องการจากบริษัททั้งภายในและนอกประเทศ รวมไปถึงผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของนิคมอุตสาหกรรม จึงคาดว่ามูลค่าที่ดินอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นในแถบชายฝั่งทะลตะวันออกและ สมุทรปราการ เนื่องจากอุปทานมีจำนวนจำกัด
ตามผลการวิจัยของไนท์แฟรงค์ฯ ในช่วงท้ายปี 2557 อุปทานที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งหมดมีจำนวน 140,841 ไร่ เพิ่มขึ้น 3.1 %จากปีก่อน โดยเฉลี่ยอุปทานที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2-5% ในแต่ละปี ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ครอบครองพื้นที่มากถึง 15.7% ของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด ขณะที่มีที่ดินอุตสาหกรรมจำนวน 140,000 ไร่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา และอุปทานในอนาคตส่วนใหญ่อยู่ในโซนชายฝั่งทะเลตะวันออก เนื่องจากได้รับประโยชน์จากระยะทางความใกล้กับท่าเรือแหลมฉบังและเป็นพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง
ในปีที่ผ่านมายอดขายที่ดินอุตสาหกรรมอยู่ที่ 2,276 ไร่ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากความล่าช้าในการอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเกิดจากการไม่ปรากฏของกลุ่มคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เมื่อปลายปี 2556 จนถึงกลางปี 2557 แต่หลังกลางปี 2557 ปริมาณยอดขายที่ดินคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัว
ในปี 2557 การกำหนดราคาของที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.9% จากปีที่แล้ว กระโดดขึ้นไปอยู่ที่ 4.3% ที่ดินอุตสาหกรรมในทุกโซนเติบโตด้านราคา ราคานิคมอุตสาหกรรมในโซนตะวันออกกลางถูกบันทึกว่ามีการเติบโตสูงที่สุด โดยเปรียบเทียบจากราคาเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น 4.3% การเติบโตของราคาในปีที่ผ่านมาไม่สูงเท่ากับปี 2556 เนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบด้านความต้องการที่ดินอุตสาหกรรม โดยสามารถสังเกตได้จากปริมาณยอดขายที่ลดลง แหล่งทำเล ระยะทางใกล้กับท่าเรือ สิ่งอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งแรงงานและความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วมเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาที่ดินอุตสาหกรรม
สำหรับอุปทานของพื้นที่โรงงานให้เช่าทั้งหมดภายในสิ้นปี 2557 คิดเป็น 2,553,046 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากอุปทานในปีก่อนมากถึง 88,577 ตารางเมตร แสดงให้เห็นการเติบโตขึ้นถึง 3.6% การเพิ่มขึ้นของอุปทานที่เห็นได้ชัดนี้ ถูกสังเกตการณ์หลังจากเหตุการณ์ภัยน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 เป็นผลทำให้เกิดการพัฒนาโรงงานเพื่อรองรับความต้องการใหม่ๆในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม อุปทานโรงงานให้เช่าไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากดูในแง่ของอุปทานคลังสินค้า เนื่องจากมีข้อจำกัดและกฎระเบียบการพัฒนาที่ดินที่ต้องมีใบอนุญาตการดำเนินงานโรงงาน
ทั้งนี้จังหวัดชลบุรีมีอุปทานโรงงานให้เช่ามากที่สุด คิดเป็น 30% ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีพื้นที่โรงงานให้เช่ารวมทั้งหมด 775,636 ตารางเมตร และสมุทรปราการ มีอุปทานใหญ่เป็นอันดับสอง คิดเป็น 20% ด้วยมีพื้นที่รวม 517,452 ตารางเมตร อันดับที่สามและที่สี่ ได้แก่ ระยอง คิดเป็น 19% และอยุธยา 17% แถบชายฝั่งทะเลตะวันออกในจังหวัดชลบุรีและสมุทรปราการมีอุปทานพื้นที่โรงงานให้เช่าที่ใหญ่ที่สุด เนื่องจากเป็นแหล่งพื้นที่สำคัญให้แก่ฮับอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นฮับใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ
"จากการประกาศของนักพัฒนาอุตสาหกรรมหลักก่อนหน้านี้ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าจะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 150,000 ตารางเมตรในจังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี ระยองและปราจีนบุรีในปี 2015"
สำหรับอัตราการครอบครองในปัจจุบันที่ 77.6% ลดลงไป 0.1% เมื่อเทียบกับอัตราในช่วงปลายปี 2556 โดยส่วนใหญ่เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปทานโรงงานให้เช่าในปีที่ผ่านมา ความต้องการด้านพื้นที่โรงงานให้เช่ารวมทั้งหมดในช่วงท้ายปีคิดเป็น 1,980,108 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 64,693 ตารางเมตร จากปีก่อน ซึ่งอัตราการครอบครองในเขตสุวรรณภูมิ-บางปะกง และแถบชายฝั่งตะวันออกยังคงตัวดีขึ้นเรื่อยๆ มีอัตราการครอบครองอยู่ที่ 93.6% และ 81.3% ตามลำดับ ส่วนใหญ่เนื่องมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเขตพื้นที่ ซึ่งมีที่ตั้งใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมหลากหลายแห่ง ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ
ขณะที่เขตสุวรรณภูมิ-บางปะกง มีระดับการครอบครองสูงเพราะอุปทานในบริเวณนี้มีจำนวนจำกัด บวกกับที่ดินเพื่อการพัฒนาโรงงานให้เช่ามีจำนวนน้อยกว่าแถมชายฝั่งทะลตะวัน ออกอัตราการครอบครองในจังหวัดปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา ยังคงต่ำกว่าเฉลี่ยของตลาด ซึ่งคิดเป็น 60.8% อย่างไรก็ตามข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นสัญญาณการฟื้นตัว
ทางด้านอัตราค่าเช่าโรงงานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 205.4 บาท/ตร.ม./เดือน เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบปีต่อปี โซนชายฝั่งทะเลตะวันออกกำหนดราคาค่าเช่าสูงที่สุดอยู่ที่ 224.8 บาท/ตร.ม./เดือน ส่วนเขตปทุมธานี/อยุธยาตั้งค่าเช่าอยู่ที่ 200.7 บาท/ตร.ม./เดือน และในเขตสุวรรณภูมิ-บางปะกง มีค่าเช่าอยู่ที่ 174.6 บาท/ตร.ม./เดือน
อัตราการเติบโตของค่าเช่าพื้นขึ้นสูงที่สุดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก เพิ่มขึ้น 5.6% อย่างไรก็ตาม อัตราค่าเช่าในเขตปทุมธานี-อยุธยาและสุวรรณภูมิ-บางปะกง ยังคงมีเสถียรภาพมั่นคง เขตสุวรรณภูมิ-บางประกง มีอัตราค่าเช่าโรงงานต่ำกว่าปกติ เหตุเพราะพื้นที่โรงงานให้เช่าไม่ตั้งอยู่ภายในเขตนิคมอุตสาหกรรม และยิ่งไปกว่านั้น ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมในบริเวณนี้ค่อนข้างหายาก
อัตราค่าเช่าที่กำหนดไว้สูงที่สุดอยู่ในจังหวัดชลบุรี และ ฉะเชิงเทราในราคา 250 บาท/ตร.ม./เดือน ตามติดมาเป็นอันดับสองคือในจังหวัดสมุทรปราการและระยองในราคา 230 บาท/ตร.ม./เดือน ส่วนอัตราสูงที่สุดในอยุธยาอยู่ที่ 220 บาท/ตร.ม./เดือน จังหวัดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการและระยองกำหนดอัตราค่าเช่าสูงที่สุด
ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก