ว่าด้วย "ภาษีมรดก" ที่หลายคนกังวล

1,877 Views เผยแพร่ 3 มี.ค. 58
ว่าด้วย ภาษีมรดก ที่หลายคนกังวล

คนไทยส่วนใหญ่น่าจะดีใจที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความเหลื่อม ล้ำด้วยการตราภาษีมรดก ในอดีตประเทศไทยเคยประกาศใช้ภาษีมรดกมาแล้ว ขณะนั้นเรียกว่า "พระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476" เป็นการเรียกเก็บภาษีจากทั้งผู้ตายทางหนึ่งและเก็บจากทายาทผู้รับมรดกอีกทาง หนึ่ง แต่ด้วยความยุ่งยากในการจัดเก็บภาษีมรดกดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไป ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีหลังจากนั้น สังคมไทยก็ท้าทายรัฐบาลชุดต่างๆ ให้นำภาษีมรดกกลับมาใช้ใหม่ แต่ก็ไม่มีรัฐบาลใดมีความกล้าหาญพอ จนกระทั่งรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ที่เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีมรดกอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดเพราะต้องรอการพิจารณาของสภานิติบัญญัติ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมรดกที่รัฐบาลเสนอนั้นมีข้อกำหนดที่สำคัญ 3 ประการ คือ

ประการที่หนึ่ง ภาษีมรดกกำหนดให้ทายาทที่รับมรดกเกิน 50 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ซึ่งการกำหนดฐานภาษีและอัตราภาษีดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลมีรายได้ภาษีมรดกน้อย มาก จากฐานข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2556 พบว่า จากจำนวนครัวเรือนในประเทศไทยทั้งหมด 22.63 ล้านครัวเรือน มีครอบครัวที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาท เพียง 17,655 ครัวเรือน ในจำนวนนี้ หากนำจำนวนบุตรมาหารพบว่ามีจำนวนทายาทที่รับมรดกเกิน 50 ล้านบาทเพียง 5,626 คน โดยทายาทแต่ละคนจะรับมรดกเฉลี่ยคนละ 93.61 ล้านบาท เมื่อทายาทเหล่านี้ต้องเสียภาษีมรดกเฉพาะในส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท พบว่าทายาทแต่ละคนต้องเสียภาษีให้รัฐเฉลี่ยคนละ 7.67 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้กระทรวงการคลังมีรายได้จากภาษีมรดกทั้งสิ้น 43,473 ล้านบาท แต่เงินจำนวนนี้จะต้องทยอยจ่ายให้กระทรวงการคลังเพราะครอบครัวที่พึงต้อง เสียภาษีมรดกทั้งหมดคงไม่เสียชีวิตพร้อมๆ กันในปีเดียว  ดังนั้นหากสมมติให้ครอบครัวเหล่านี้ทยอยเสียชีวิตในช่วงระยะเวลา 20 ปี ก็จะทำให้กระทรวงการคลังเก็บภาษีมรดกได้เพียงปีละประมาณ 2,174 ล้านบาท หากเทียบกับรายได้ภาษีทั้งหมดที่กระทรวงการคลังเก็บได้ในปี 2556 คิดเป็นเงิน 2,157,474 ล้านบาท รายได้จากภาษีมรดกจะเป็นแหล่งรายได้ของรัฐที่มีความสำคัญน้อยที่สุดเพราะมี สัดส่วนเพียงร้อยละ 0.01 ของรายได้ภาษีทั้งหมดของประเทศ

ประการที่สอง ถึงแม้กลุ่มเป้าหมายหลักที่พึงต้องเสียภาษีมรดกคือทายาทที่รับมรดกเกิน 50 ล้านบาท แต่รัฐบาลก็เกรงว่าจะมีการทยอยโอนทรัพย์สินให้ทายาทก่อนเสียชีวิต ดังนั้น รัฐบาลจึงเสนอให้มีการแก้ประมวลรัษฎากรโอนทรัพย์สินให้บุตรในส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท โดยให้ต้องเสียภาษีการให้อีกร้อยละ 5 ด้วยการเก็บภาษีในส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท เพิ่มมาด้วยนี้คงช่วยป้องกันการโอนมรดกให้ทายาทก่อนเสียชีวิตได้บ้าง แต่ผลกระทบก็คือครอบครัวที่มีทรัพย์สินเกิน 10 ล้านบาท แต่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งมิได้เป็นกลุ่มเป้าหมายที่พึงเสียภาษีมรดกกลับต้องมาแบกรับภาระเสียภาษี ด้วยหากมีการให้มรดกกันก่อนเสียชีวิต ดังนั้น สิ่งที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นคือครอบครัวที่มีมรดกเกิน 10 ล้านบาท แต่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท จะโอนมรดกให้ทายาทหลังที่ตนเสียชีวิตแล้วเพื่อที่จะไม่ต้องเสียภาษีมรดก ส่วนครอบครัวที่มีทรัพย์สินมากกว่า 50 ล้านบาท จะทยอยโอนมรดกให้ทายาทก่อนเสียชีวิตเพื่อลดภาระภาษี แต่ที่แน่ๆ คือ ครอบครัวจำนวนมากจะเริ่มทยอยโอนทรัพย์สินให้ทายาททุกๆ ปี ปีละละ 9.99 ล้านบาท เพราะจะได้ไม่ต้องเสียภาษีอะไรเลย หรือไม่ก็จะออมด้วยการซื้อทรัพย์สินต่างๆ แต่ใส่ชื่อลูกๆ แทน หรือไม่ก็ทำสัญญาเงินกู้กันระหว่างพ่อกับลูก

ประการที่สาม ภาษีมรดกที่กระทรวงการคลังเสนอให้สภานิติบัญญัติพิจารณาจะเรียกเก็บไม่เฉพาะ ทรัพย์สินที่จดทะเบียนเท่านั้น เช่น บ้าน ที่ดิน หุ้น รถยนต์ หรือเงินในบัญชี แต่จะเก็บจากทรัพย์สินทุกประเภทที่เจ้าพนักงานทราบ รวมทั้งแก้วแหวนเงินทอง นาฬิกา ภาพวาด หรือพระเครื่อง การเก็บภาษีมรดกในลักษณะนี้คงจะมีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะเจ้าพนักงานสรรพากร คงต้องเหน็ดเหนื่อยในการรวบรวมทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกทั้งหลายและทำการ ประเมินมูลค่า แค่ทรัพย์สมบัติของ พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ คนเดียวก็ทำบัญชีรายการประเมินมูลค่ากันไม่หวาดไม่ไหวแล้ว ดังนั้น หากต้องประเมินมูลค่าทรัพย์สินของทุกคนก็คงจะเป็นภารกิจที่ยุ่งยากพอควร สำหรับกระทรวงการคลัง แต่ที่สำคัญคือ การเก็บภาษีมรดกทุกรายการอาจนำไปสู่การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการ พิจารณาว่าจะตรวจทรัพย์สมบัติของทายาทผู้รับมรดกแต่ละรายอย่างเท่าเทียมกันอย่างไร

 

จริงอยู่ที่ว่ามีหลายประเทศที่เก็บภาษีมรดก แต่ก็มีหลายประเทศเช่นกันที่ไม่เก็บภาษีมรดก และยังมีหลายประเทศที่ในอดีตเคยเก็บภาษีมรดกแต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว สถาบันอนาคตไทยศึกษาได้ รวบรวมข้อมูลรายประเทศทั้งที่มีและไม่มีการเก็บภาษีมรดก พบว่ามีเพียง 13 ประเทศ จาก 45 ประเทศ ที่ทำการสำรวจมีการเก็บภาษีมรดกและส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในเอเชียมีเพียง 3 ประเทศ เท่านั้นที่เก็บภาษีมรดก คือ ญี่ปุ่น จีน-ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่ไม่มีการเก็บภาษีมรดก ได้แก่ ประเทศอาร์เจนตินา โคลอมเบีย จีน อินเดีย นิวซีแลนด์ และสวีเดน นอกจากนั้นพบว่ามี 5 ประเทศ ที่เคยมีการเก็บภาษีมรดกแต่ยกเลิกไปแล้ว ได้แก่ จีน-ฮ่องกง สิงคโปร์ ออสเตรเลีย แคนาดา และนอร์เวย์ ซึ่งสาเหตุที่ประเทศเหล่านี้ยกเลิกการเก็บภาษีมรดกเพราะต้องการดึงดูดการ ลงทุนจากต่างประเทศ ภาษีมรดกสามารถหลีกเลี่ยงได้ง่าย และเป็นภาษีที่สร้างรายได้ให้รัฐได้น้อย

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการเก็บภาษีมรดกของประเทศไทยครั้งนี้คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าจะ เก็บภาษีได้เงินเข้ารัฐเท่าไหร่หรือรายรับภาษีที่เก็บได้จะคุ้มกับต้นทุนการ จัดเก็บหรือไม่ แต่คำถามสำคัญในการตราพระราชบัญญัติภาษีมรดกครั้งนี้คือการตอบโจทย์สำคัญของ ประเทศว่า "ภาษีมรดกจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้หรือไม่" ด้วย เหตุนี้ หากรัฐต้องการเร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยรัฐบาลควรเริ่มที่ต้นตอ ของปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งมีสาเหตุหลัก 8 ประการ ได้แก่

1.) ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา คุณภาพของโรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยที่มีความแตกต่างกันมาก ทำให้นักเรียนแต่ละคนมีระดับทุนมนุษย์และความสามารถในการประกอบอาชีพแตกต่าง กัน ปัญหานี้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย เมื่อรัฐบาลจ่ายเงินสนับสนุนมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศเพราะเงินสนับสนุน นี้กลับไปตกกับลูกคนรวยที่มีเงินเรียนกวดวิชาสารพัดจนสามารถสอบเข้าเรียนใน มหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐได้และยังจ่ายค่าหน่วยกิตในอัตราที่ต่ำด้วย ในขณะที่ลูกคนที่มีรายได้น้อยแทบจะไม่ได้ประโยชน์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของ รัฐเลยเพราะพ่อแม่ไม่มีเงินจ่ายค่ากวดวิชาเพื่อให้สามารถสอบแข่งขันจนเข้า เรียนได้

2.) ความแตกต่างระหว่างกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด ยังเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยได้รับการแก้ไขทำให้เกิดความแตกต่าง ทางโอกาสในหลายๆ ด้าน เช่น โอกาสทางการศึกษาเมื่อคนต่างจังหวัดจำนวนมากมีภาระส่งลูกหลานมาเรียนใน กรุงเทพฯ พ่อแม่เองก็ต้องเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ ความแตกต่างนี้ยังพบเห็นในการให้บริการอื่นๆ ของรัฐที่ไม่เท่าเทียมกัน เช่น คุณภาพของการรักษาพยาบาล ด้านบริการด้านสาธารณูปโภค ระดับการพัฒนาของจังหวัดต่างๆ และโอกาสในการทำธุรกิจ

3.) การผูกขาดทางธุรกิจการค้าและการแข่งขันน้อยราย เป็นปัญหาที่สังคมไทยละเลย มานานจนทำให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวของผลตอบแทนทางธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบ การที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง ผู้ประกอบการในธุรกิจบางประเภทที่มีอำนาจตลาดจากการมีคู่แข่งน้อยรายนี้นำไป สู่การกอบโกยกำไรจำนวนมากจนสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเกินกว่าจะ เยียวยาได้ ดังจะพบเห็นได้ในธุรกิจอาหารสัตว์ เคเบิลทีวี โทรคมนาคม ดาวเทียม พลังงาน ไฟฟ้า และธนาคารพาณิชย์ ถึงแม้ประเทศไทยจะมี พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ที่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงพาณิชย์ แต่กฎหมายดังกล่าวก็ขาดการบังคับใช้และยังมีข้อยกเว้นให้รัฐวิสาหกิจสามารถ ผูกขาดทางการค้าได้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำจากการผูกขาดตลาดและการมีอำนาจตลาดนอกจากจะสร้างความ กระจุกตัวของรายได้แล้วยังนำไปสู่การกระจุกตัวของการครอบครองที่ดินในกลุ่ม คนรวยซึ่งเป็นปัญหาตามมาอีกด้วย

4.) การคอร์รัปชันในแวดวงการเมืองและระบบราชการ เป็นกลไกที่นำไปสู่ความแตกต่าง ทางเศรษฐกิจในสังคมไทย การคอร์รัปชันทางการเมืองทำให้นักธุรกิจจำนวนมากหันเข้าสู่วงการการเมือง ไม่ใช่เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนแต่เพื่อแสวงช่องทางในการ คอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ เหตุการณ์ค่าโง่ทางด่วนหรือค่าโง่คลองด่านเป็นตัวอย่างการคอร์รัปชันที่มี ให้เห็นทั่วไป นอกจากนั้นยังมีปัญหาเงินทอนจากการประมูลงานในโครงการต่างๆ ของรัฐ การคอร์รัปชันในรูปการจ่ายเงินซื้อตำแหน่งทางราชการยังเป็นปัญหาที่บั่นทอน ประสิทธิภาพกลไกภาครัฐอีกด้วย ท้ายสุดที่เป็นข่าวให้ได้เห็นเป็นประจำคือการรีดไถเก็บส่วยโดยผู้มีอิทธิพล และเจ้าพนักงานของรัฐจากการดำเนินธุรกิจผิดกฎหมายต่างๆ เช่น การค้ายาเสพติด น้ำมันเถื่อน การเปิดบ่อนการพนันหรือการลักลอบตัดไม้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นต้นตอของความเหลื่อมล้ำในสังคมทั้งนั้น

5.) การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมจากฐานทรัพยากรธรรมชาติ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวผู้มีอันจะกินสามารถ กอบโกยทรัพย์สินของชาติเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ในขณะที่ผู้ยากไร้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติได้ ตัวอย่างที่พบเห็น ได้แก่ กลุ่มทุนรายใหญ่มักจะมีโอกาสมากกว่าในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำ การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจของกลุ่มทุน การทำเหมืองแร่หรือการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่อนุรักษ์ เป็นต้น สิ่งที่พบเห็นเสมอคือ เมื่อประเทศประสบปัญหาภัยแล้ง เกษตรกรจะเป็นคนกลุ่มแรกที่รัฐบาลจะประกาศงดการจ่ายน้ำเพื่อทำนาปรัง ในขณะที่รัฐบาลไม่เคยปฏิเสธการจัดสรรน้ำให้นิคมอุตสาหกรรม โรงแรม หรือภาคบริการ

6.) การเข้าถึงข่าวสารข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกัน เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่นำมาสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ตัวอย่างที่เกิดขึ้น ได้แก่ การรับทราบข้อมูลการลดค่าเงินบาทก่อนคนอื่นได้ทำให้บางคนสามารถตักตวงผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาลจากการแปลงสภาพหนี้จากหนี้ในรูปเงิน ดอลลาร์เป็นเงินบาท นอกจากนั้น การทราบข้อมูลการด้านคมนาคม เช่น การตัดถนนสายต่างๆ การทราบเส้นทางรถไฟฟ้า ข้อมูลการประมูลของรัฐ หรือข้อมูลการเปิดขายหุ้นรัฐวิสาหกิจ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ได้รับข้อมูลก่อนสามารถตักตวงผลประโยชน์ทางธุรกิจ ได้อย่างมหาศาล ในขณะที่ประชาชนคนธรรมดาไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจเหล่านี้ได้

7.) ความยุติธรรมสองมาตรฐาน การอธิบายกลไกการทำงานของระบบความยุติธรรมในประเทศไทยเป็นเรื่องที่มีความ ยุ่งยากเพราะเกี่ยวข้องกับกลไกการทำงานที่หลากหลาย ตั้งแต่การจับกุม การไต่สวน การส่งฟ้อง และการดำเนินคดี ถึงแม้บางกลไกในกระบวนการยุติธรรมยังเป็นที่พึ่งของสังคมได้อยู่ แต่บางกลไกคงต้องมีการยกเครื่องขนานใหญ่ มิฉะนั้นคงไม่เกิดปัญหาสองมาตรฐานในระบบความยุติธรรมและเป็นบ่อเกิดของความ เหลื่อมล้ำในสังคมที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้ สังคมยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมแม่ลูกที่นำแผ่นซีดีเก่ามาขายเพียงไม่กี่แผ่น ต้องรับโทษติดคุก 2 ปี ในขณะที่ลูกคนรวยขับรถด้วยความประมาทชนคนตายกลับถูกลงโทษเพียงบำเพ็ญ ประโยชน์สาธารณะ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เอาไม้กอล์ฟตีหัวภรรยาจนตายก็ไม่ต้องติดคุก หรือแม้แต่ลูกผู้มีอิทธิพลที่ยิงคนคนตายกลางผับท่ามกลางสายตาของคนจำนวนมาก กระบวนการยุติธรรมก็ไม่สามารถเอาผิดได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมและเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำไปสู่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

8.) การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาในพื้นที่และการพัฒนาประเทศเป็นอีกหนึ่งกลไกที่นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ทิศทางและรูปแบบการพัฒนาประเทศส่วนมากมักถูกกำหนดโดยข้าราชการระดับสูง นักวิชาการ และการชี้นำโดยองค์กรระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น การกำหนดโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่ จ.สงขลา เป็นโครงการที่ประชาชนส่วนใหญ่ในภาคใต้ไม่ต้องการเลยแต่เป็นโครงการที่ รัฐบาลส่วนกลางและกลุ่มธุรกิจต่างๆ อยากได้และพยายามผลักดันให้มีการลงทุนในโครงการนี้ ดังนั้น หากโครงการในลักษณะเช่นนี้ได้รับการอนุมัติ ผู้ที่ได้ประโยชน์จะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ในขณะที่ประชาชนในพื้นที่จะไม่ได้ รับอะไรเลยนอกจากปัญหามลพิษที่จะเกิดขึ้น หากประชาชนทั่วไปไม่มีโอกาสในการกำหนดทิศทางและรูปแบบการพัฒนาประเทศที่ ตนเองต้องการ ประชาชนเหล่านี้ก็จะไม่ได้รับอะไรจากการพัฒนา

 

โดยสรุป การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะที่ผ่านมาความร่ำรวยของบางครอบครัวได้ทำลายประเทศชาติเป็นอย่างมาก ความเหลื่อมล้ำนำไปสู่การซื้อนักการเมือง ซื้อ ส.ส. ทำลายกลไกการบริหารราชการที่ดี รวมทั้งทำลายระบบความยุติธรรมต่างๆ ของประเทศด้วย ปัญหาความเหลื่อมล้ำจึงเป็นต้นทุนทางสังคมที่สูงมากสำหรับประเทศไทย ความตั้งใจแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นก้าวสำคัญที่ควรได้รับการดูแลที่ ต้นตอปัญหาอย่างแท้จริง การนำภาษีมรดกมาใช้เป็นการแสดงถึงเจตนาที่ดีของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศไทย แต่รัฐบาลก็ควรมีแผนงานด้านความเหลื่อมล้ำที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นตอ อย่างจริงจังด้วย มิฉะนั้นการตราภาษีมรดกเพียงอย่างเดียวก็ดูเหมือนจะเป็นเพียงการฉุดการพัฒนา ประเทศให้ก้าวถอยหลังกลับไปปี 2476 เท่านั้นเอง

 

บทความโดย : รศ. ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย)

 

เครดิตจากเว็บไซต์ thaipublica.org

ลงประกาศขาย-เช่าฟรี คำนวณการขอสินเชื่อ

คุ้มค่าน่าอ่าน

ประกาศซื้อ-ขายมาใหม่

SHARE

Share Tweet Share
BanKumKa.Com เป็นเว็บไซต์ศูนย์กลางสำหรับซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย ด้วยข้อมูลที่พร้อมทั้งคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ และที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นโครงการใหม่หรือบ้านมือสอง อีกทั้งบทความและข่าวสารที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้คุณได้คัดสรรทรัพย์ที่ดีที่สุดได้ในเว็บไซต์ BanKumKa.com ที่เดียว
เว็บไซต์ BanKumKa.Com มีการเก็บ Cookies ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายความเป็นส่วนตัว ยอมรับ