เทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้าเพื่อนบ้าน ไทยถูกหรือแพง ?

14,458 Views เผยแพร่ 4 มิ.ย. 58
เทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้าเพื่อนบ้าน ไทยถูกหรือแพง ?

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าไทยอยู่ตรงไหน?

ในปัจจุบันรถไฟฟ้าจัดเป็นบริการขนส่งสาธารณะที่สำคัญสำหรับคนกรุงเทพ อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าจึงเป็นประเด็นที่หลายคนสนใจว่ามันมากหรือน้อย ถูกหรือแพงแค่ไหน อย่างไร ?

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าไทยอยู่ตรงไหน?

ในทางปฏิบัติการพิจารณาเปรียบเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นทำไม่ได้ง่ายนักด้วยหลายสาเหตุ เพราะกิจการรถไฟฟ้าในเมืองใหญ่ๆทั่วโลกมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งในเชิงเทคนิคและต้นทุนการให้บริการ เช่น ชนิดของรถไฟที่ใช้ ความยาวของราง ระยะห่างระหว่างสถานี หรือปริมาณการใช้บริการของประชาชนในเมืองนั้นๆ (ยิ่งคนใช้เยอะ ราคาต่อหน่วยก็ควรจะถูกกว่า) หรือกระทั่งความแตกต่างด้านการคิดราคาค่าโดยสาร เช่น ในบางเมืองคิดค่าโดยสารตามโซน (ลอนดอน) บางเมืองคิดแบบเหมาจ่ายราคาเดียวแต่จำกัดเวลาการใช้งาน (นิวยอร์ก) ขณะที่ประเทศไทยคิดราคาตามจำนวนสถานี

อย่างไรก็ตามเราได้ลองเลือกราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าในบางเมืองขึ้นมาเปรียบเทียบให้เห็น โดยใช้หลักการพิจารณาดังนี้

  1. คิดราคาตามสถานีแบบเมืองไทย
  2. เลือกเส้นทางที่มีความยาวใกล้เคียงกัน โดยความยาวรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิทคือ 22.25 กิโลเมตร[1] ส่วนความยาวรถไฟใต้ดินคือ 20 กิโลเมตร[2]
  3. พิจารณาเฉพาะตั๋วโดยสารแบบเที่ยวเดียว ราคาเต็ม ไม่นับตั๋วโปรโมชั่น

ด้วยเงื่อนไขข้างต้น เราจะได้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าจาก 4 ประเทศมาพิจารณาเปรียบเทียบกัน ได้แก่

  • รถไฟสาย Tsuen Wan ของฮ่องกง[3]
  • สาย North East ของสิงคโปร์[4]
  • สาย 5 ในกรุงเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน[5]
  • Tokyo Metro Fukutoshin Line ของญี่ปุ่น[6]

Metropolitan Railway retail prices in local currency unit

และหากใช้อัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบัน[7] จะได้ตัวเลขดังนี้

Metropolitan Railway retail prices in THB at market FX rate

ซึ่งโดยหลักแล้วการเปรียบเทียบราคาสินค้า/บริการระหว่างประเทศ จำเป็นต้องคำนึงถึง "ค่าครองชีพ" ที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นจึงต้องใช้หลัก Purchasing Power Parity (PPP) ทำการแปลงค่าโดยสารให้ "เสมือนเป็นเงินดอลล่าร์" ทั้งหมด โดยเมื่อใช้ตัวเลข PPP conversion factor ของปี 2011 จากธนาคารโลก[8] จะได้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าออกมาเป็นหน่วย US Dollar (PPP-adjusted) ดังที่เห็นใน

Metropolitan Railway retail prices in PPP-adjusted US Dollar

จะเห็นว่าอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า เมื่อคิดแบบเทียบ "ค่าครองชีพ (PPP-adjusted)" ของเซี่ยงไฮ้นั้นถูกมาก ฮ่องกงถูกกว่ากรุงเทพในทุกกรณี ขณะที่สิงคโปร์จะแพงกว่าไทยเมื่อเดินทางระยะสั้นๆ แต่ไทยจะแพงกว่าเมื่อเดินทางระยะไกลขึ้น เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่จะแพงกว่าทั้ง BTS และ MRT เมื่อเดินทางระยะสั้นๆ แต่เมื่อเดินทางระยะไกลขึ้นราคากลับถูกกว่าโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ BTS

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : บทความ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าไทยอยู่ตรงไหน? (whereisthailand.info)

 

ลงประกาศขาย-เช่าฟรี คำนวณการขอสินเชื่อ

คุ้มค่าน่าอ่าน

ประกาศซื้อ-ขายมาใหม่

SHARE

Share Tweet Share
BanKumKa.Com เป็นเว็บไซต์ศูนย์กลางสำหรับซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย ด้วยข้อมูลที่พร้อมทั้งคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ และที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นโครงการใหม่หรือบ้านมือสอง อีกทั้งบทความและข่าวสารที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้คุณได้คัดสรรทรัพย์ที่ดีที่สุดได้ในเว็บไซต์ BanKumKa.com ที่เดียว
เว็บไซต์ BanKumKa.Com มีการเก็บ Cookies ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายความเป็นส่วนตัว ยอมรับ