สนข.ศึกษารถเมล์ไฟฟ้า 2 แบบนำร่อง 200 คัน

1,567 Views เผยแพร่ 14 ธ.ค. 58
สนข.ศึกษารถเมล์ไฟฟ้า 2 แบบนำร่อง 200 คัน

สนข. ศึกษารถเมล์ไฟฟ้า เผยแนวโน้มแบบใช้แบตเตอรี่ภายในตัวรถ (EV Bus) เหมาะกับกายภาพถนน กทม. มากกว่าแบบรถไฟฟ้าล้อยางจ่ายไฟบนหลังคา เร่งเปรียบเทียบคุณสมบัติ ราคาต้นทุน และความเหมาะสมเสนอ ครม. ตัดสินใจ ด้าน ขสมก.หนุนรถเมล์ไฟฟ้า หลังทดสอบวิ่งแล้ว เตรียมเสนอซื้อนำร่อง 200 คัน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สนข.อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์รายละเอียดเบื้องต้นของรถ โดยสารที่เป็นระบบไฟฟ้า 2 ประเภทคือ รถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ภายในตัวรถ (EV Bus) และ รถไฟฟ้าล้อยาง ที่ใช้การเกี่ยวสายไฟบนหลังคา ซึ่งเป็นไปตามนโยบายพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้กระทรวงคมนาคมศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเป็นทางเลือกในการจัดซื้อรถ โดยสาร โดยจะมีการเปรียบเทียบคุณสมบัติ ราคาต้นทุน และความเหมาะสมของรถทั้ง 2 ประเภท โดยจะใช้เวลาศึกษาไม่มากเนื่องจากเป็นการศึกษาเบื้องต้น คาดว่าจะสามารถเสนอผลการศึกษาต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้ภายในปี 2559 โดยหากเสนอแล้วทาง ครม. ต้องการลงรายละเอียดมากขึ้น จึงจะมีการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา

สำหรับกายภาพถนนในกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยทั่วไปจะถือว่ามีความเหมาะสมกับรถไฟฟ้าแบบใช้แบตเตอรี่ภายในตัวรถมากกว่า รถแบบล้อยางที่มีสายไฟบนหลังคาที่ยังมีข้อจำกัดมากกว่า โดยในการศึกษานั้นก็จะต้องศึกษาให้ครอบคลุมทั้ง 2 ระบบ เพราะการศึกษาครั้งนี้ จะถือว่าเป็น ต้นแบบเพื่อให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ไปดำเนินการซึ่งภายหลังจากเสร็จสิ้นทาง สนข.จะต้องส่งสรุป ผลการศึกษาไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อส่งให้ ครม.พิจารณา อย่างไรก็ตามในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแยกจาก ขสมก.ที่ได้มอบให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยในส่วนของ ขสมก.เป็นการศึกษาคุณสมบัติของตัวรถ

"เรื่องรถเมล์ไฟฟ้าในประเทศไทยถือว่ายังเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ สนข.ได้ดำเนินการศึกษาเองโดยยังไม่มีการว่าจ้างที่ ปรึกษา เนื่องจากเป็น การศึกษารายละเอียดเบื้องต้นเท่านั้น"

ด้านนางปราณี ศุกระศร  รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า ในการพิจารณาทางเลือกจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ภายในตัวรถ และ รถไฟฟ้าล้อยางที่เกี่ยวสายไฟฟ้าบนหลังคา ซึ่งนิยมใช้ในแถบยุโรปนั้น ขสมก.เห็นว่าทางเลือกที่ 2 จะเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากสภาพพื้นที่กทม.ไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับต้องสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าให้รถโดยสารด้วย ซึ่งจะยุ่งยากมากขึ้น และหากจะนำรถเมล์ไฟฟ้าล้อยางวิ่งบริการในพื้นที่รอบนอก กทม. จะไม่ตอบโจทย์ที่ต้องการแก้ปัญหาการจราจรใน กทม. ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุด จึงเห็นว่า ควรใช้รถโดยสารไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่เพียงแต่ต้องมาพิจารณาความเหมาะสมว่าควรใช้ รถประเภทที่มีแบตเตอรี่สำรอง หรือประเภทที่สามารถชาร์จไฟในตัวรถได้ โดยในส่วนของ ขสมก.อยู่ระหว่างเร่งศึกษารายละเอียดการจัดหารถโดยสารไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ นำร่องจำนวน 200 คัน โดยประเมินราคาเบื้องต้นที่คันละ 10 ล้านบาท โดยจะเร่งเสนอคมนาคมต่อไป

 

ที่มา : ผู้จัดการรายวัน 360

หมวดบทความ :

ลงประกาศขาย-เช่าฟรี คำนวณการขอสินเชื่อ

คุ้มค่าน่าอ่าน

ประกาศซื้อ-ขายมาใหม่

SHARE

Share Tweet Share
BanKumKa.Com เป็นเว็บไซต์ศูนย์กลางสำหรับซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย ด้วยข้อมูลที่พร้อมทั้งคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ และที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นโครงการใหม่หรือบ้านมือสอง อีกทั้งบทความและข่าวสารที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้คุณได้คัดสรรทรัพย์ที่ดีที่สุดได้ในเว็บไซต์ BanKumKa.com ที่เดียว
เว็บไซต์ BanKumKa.Com มีการเก็บ Cookies ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายความเป็นส่วนตัว ยอมรับ